แผนกลยุทธ์ของคณะ
แผนกลยุทธ์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565-2569)
บทสรุปผู้บริหาร
แผนกลยุทธ์ของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2565-2569 เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาคณะครุศาสตร์ ฯ ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2565-2569 และแผนพัฒนา มจธ. ระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2560-2579 ภายใต้บริบทและทิศทางสำคัญในการมุ่งสู่การเป็นผู้นำแห่งการพัฒนากำลังคน การพัฒนานวัตกรรมและ Ecosystem ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ชุมชน สังคมและประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเพิ่มขีดความสามาถในการแข่งขัน การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นผู้ประกอบการ การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการบริหาร การจัดการองค์กรเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง การพัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565-2569) และกฎกระทรวง ฯ การจัดกลุ่มสถาบันการศึกษา พ.ศ. 2564
การจัดทำแผนกลยุทธ์ของคณะครุศาสตร์ ฯ ฉบับนี้ มีคณะทำงานที่มาจากทุกภาคส่วนภายในคณะ ดำเนินกิจกรรมการพบปะแลกเปลี่ยน ระดมสมอง รับทราบถึงปัญหา อุปสรรค ทิศทางการพัฒนา ความต้องการและความชำนาญของทุกหน่วยงานภายในคณะ ฯ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งปัจจัยภายในและภายนอก เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมสมอง “ทิศทางการพัฒนานวัตกรเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม ก้าวสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” จากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกับผู้บริหารคณะ ฯ เพื่อกำหนดทิศทาง แนวทางการปรับปรุงแผนกลยุทธ์ และการวางแผนปฏิบัติการเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต และการผลักดันการดำเนินงานของคณะ ฯ ให้บรรจุเป้าหมายที่จะก้าวสู่ VISION พัฒนา "นวัตกร" สร้างสรรค์ "นวัตกรรมชั้นนำ" อย่างยั่งยืน ผ่านการออกแบบและการขับเคลื่อนการดำเนินการ ภายใต้ OKR ระดับคณะ และ OKR ระดับหน่วยงาน โดยมีเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Objectives and Key Results : OKR) ในการพัฒนาและดำเนินการ 4 ด้าน ได้แก่ 1) พัฒนา Ecosystem ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ และการโค้ชสำหรับการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ที่ตอบสนองการพัฒนากำลังคนของประเทศ 2) พัฒนาความสามารถด้านนวัตกรรมและการวิจัย ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสังคม ระดับนานาชาติ 3) สร้างระบบงานและการบริหารจัดการองค์กรที่ ยืดหยุ่น รองรับความเปลี่ยนแปลง ในอนาคต 4) มีวัฒนธรรมองค์กรและระบบนิเวศการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมี 6 แผนงาน โดยในแต่ละเป้าหมาย ได้มีการกำหนดแผนงาน ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ กลไกการขับเคลื่อน/ตัวชี้วัด หน่วยงานขับเคลื่อนแผนการดำเนินการเพื่อให้การดำเนินงานมีเป้าหมาย ทิศทางและผลลัพธ์ที่ชัดเจน บรรลุเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ 1 ใน 3 ของอาเซียน ในปี 2569 และการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ยึดมั่นหลักการและความแน่วแน่ในการมุ่งสู่สถาบันชั้นนำด้านการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สร้างระบบ Ecosystem รองรับการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต สำหรับภาคอุตสาหกรรมและวิทยาการด้านเทคโนโลยีที่คณะ ฯ มีความเชี่ยวชาญ ภายใต้กรอบ ปรัชญา วิสัยทัศน์ Objective และพันธกิจ ดังนี้
SMART : สามารถ
สามารถอย่างสง่างาม สามารถอย่างองอาจ สามารถอย่างปราดเปรื่อง
(SMART : S–Success, M–Moral, A– Attitude, R–Reality, and T–Trust)
พัฒนาผู้สร้างนวัตกร สร้างสรรค์นวัตกรรม ชั้นนำอย่างยั่งยืน
เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ ชั้นนำ 1 ใน 3 ของอาเซียน ในปี 2569
ทิศทางการพัฒนาคณะ ฯ
เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Objectives and Key Results: OKR) ในการพัฒนาและดำเนินการประกอบไปด้วย Strategic Objectives 4 เป้าหมาย ได้แก่
เป้าหมายที่ 1 การพัฒนา Ecosystem ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ ที่ตอบสนองการพัฒนากำลังคนของประเทศ
เป้าหมายที่ 2 การพัฒนาความสามารถด้านนวัตกรรมและการวิจัย ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสังคม ระดับนานาชาติ
เป้าหมายที่ 3 การสร้างระบบงานและการบริหารจัดการองค์กรที่ ยืดหยุ่น รองรับความเปลี่ยนแปลง ในอนาคต
เป้าหมายที่ 4 การสร้างวัฒนธรรมองค์กรและระบบนิเวศการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่ 1 การพัฒนา Ecosystem ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ ที่ตอบสนองการพัฒนากำลังคนของประเทศ
การสร้างและพัฒนา Ecosystem ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ มุ่งสร้างสรรค์พัฒนากลไกและกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ๆ การโค้ชสำหรับการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง สร้างระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต รองรับการพัฒนาความเชี่ยวชาญในทักษะ ศาสตร์ความรู้เฉพาะ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นผู้ประกอบการ การสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคอุตสาหกรรมการต่อยอดพัฒนาและเชื่อมโยงศาสตร์ความรู้ สมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต ตอบสนองต่อการพัฒนากำลังคนของประเทศ
เป้าหมายที่ 2 การพัฒนาความสามารถด้านนวัตกรรมและการวิจัย ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสังคม ระดับนานาชาติ
การพัฒนาระบบนิเวศทางนวัตกรรมและการวิจัย เพื่อบูรณาการศาสตร์และสร้างองค์ความรู้ที่โดดเด่น มีความเป็นเลิศ มีคุณภาพและได้รับการยอมรับและสอดคล้องกับความต้องการทางสังคม บ่มเพาะพัฒนาและส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การให้บริการวิชาการ วิชาชีพที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ชุมชนและสังคม ทั้งในและต่างประเทศ
เป้าหมายที่ 3 การสร้างระบบงานและการบริหารจัดการองค์กรที่ ยืดหยุ่น รองรับความเปลี่ยนแปลง ในอนาคต
การพัฒนากระบวนงาน (Business Process/workflow) ในทุกกระบวนงานทั้งส่วนที่สนับสนุนการพัฒนาคน การวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการสู่ชุมชน การพัฒนาระบบ/หน่วยงานธุรกิจเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์และการพัฒนากำลังคนรูปแบบใหม่ ระบบ Digital / IT / โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก การบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ยืดหยุ่นและคล่องตัว มีระบบสนับสนุนข้อมูล การพัฒนาทักษะและขีดความสามารถของบุคลากร ให้สอดคล้องกับแผน Digital Transformation Roadmap และรองรับงานอนาคต
เป้าหมายที่ 4 การสร้างวัฒนธรรมองค์กรและระบบนิเวศการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เป็นองค์กร ที่มีพันธกิจ ค่านิยม วัฒนธรรม การสื่อสาร การดำเนินงาน การเรียนรู้และระบบนิเวศในการทำงานอย่างมีความสุข เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน มีความรับผิดชอบ ส่งเสริมและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน มีระบบ การบริหารจัดการ งบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง อย่างมีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล การสร้างความเชื่อมั่นและได้รับการไว้วางใจจากประชาคม เป็นผู้นำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม
เอกลักษณ์ (Identity)
เป็นผู้ชำนาญ ใช้และประยุกต์เทคโนโลยี เป็นนักฝึกอบรมเพื่องานอุตสาหกรรม เป็นผู้นำในการพัฒนาอาชีวศึกษา
อัตลักษณ์ (Uniqueness)
ปฎิบัติได้ ถ่ายทอดได้ พัฒนางาน สร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
คณะครุศาตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ ชั้นนำ 1 ใน 3 ของอาเซียน ในปี 2569